Biotech 30 , ระบบกรองน้ำ จากประเทศเยอรมัน เพีบงแค่รู้ปริมาณน้ำของบ่อก็สามารถเลือกรุ่นของชุดกรอง ชุดฉายรังษียูวีซี ปั๊มน้ำที่เหมาะสมได้ สำหรับรุ่น Biotech 30 สามารถใชกับบ่อปลาที่มีขนาดสูงสุดได้ถึง 130,000 ลิตร (ถ้ามีปลาเป็นจำนวนมากสามารถใช้ได้สูงสุด 30,000 - 60,000
- กรองแบบหลายระดับโดยใช้ตัวกรองหลายชนิด เช่น แผงแปรงและแผ่นกรอง เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอมขนาดต่างๆ
- ใช้กรรมวิธีเชิงกลและเชิงชีวภาพเพื่อลดสิ่งที่จะเป็นธาตุอาหารสำหรับจุลชีพภายในสระ
- มีพื่นที่ผิวตัวกรองแปคทีเรียขนาดใหญ่พิเศษ
- แผงติดตั้งตัวกรองทำด้วยพลาสติกที่ทนทานต่อการกระแทกและแสง UV
- ทำความสะอาดและบำรุงรักษาง่าย
- มีท่อถ่ายตะกอนสำหรับกำจัดสิ่งสกปรก
- ใช้ได้กับสระน้ำความจุสูงสุด 130,000 ลิตร
- สามารถใช้กับ Bitron 18C - 110C ได้
- เข้ากันได้กับปั้มกรอง OASE Aquamax
- รับประกัน 3 ปี

Biotec30 |
Dimensions (LxWxH) |
1200x800x730 mm
|
Max. flow-through |
23000 l/h
|
Hose connection |
1" - 2"
|
Outlet (mm) |
DN 100
|
No. of filter mats |
5
|
No. of filter brushes |
6
|
No. of filter foams blue |
10
|
No. of filter foams |
4
|
Suitable for ponds with fish max. |
65000 l
|
Suitable for decorative ponds max. |
130000 l
|
Connection to |
Bitron 18C to 110C
|
Guarantee |
3 Years
|
Order-No. |
OA- 55421
|
Price |
111,500.00
|
update 01/01/2556
ชมวีดีโอสาธิตการทำงานของชุดกรองน้ำBiotech 30 Oase คลิ๊กที่ภาพข้างล่าง
การหาขนาดบ่อกรองน้ำ สำหรับบ่อปลา
การหาขนาดบ่อกรองน้ำ สำหรับบ่อปลา ให้เหมาะสมกับขนาดของบ่อและปริมาณน้ำภายในบ่อปลาที่เลี้ยงในบ่อนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายต้องใช้ผู้ชำนาญเชียวชาญ พอสมควร แต่ส่วนใหญ่ช่างบ้านเรานั้นเป็นช่างที่ทำบ่อกรองน้ำจาก ประสพการณ์ในการทำงานเท่านั้น น้อยมากที่จะมีช่างที่มีความรู้จริงๆมาทำ ในการที่เราจะสร้างบ่อปลาสำหรับเลี้ยงปลาขึ้นมาซักบ่อ หนึ่งปัจจัยแรกที่เราต้องคำนึงถึงคือ เรื่องระบบกรองน้ำ สำหรับบ่อปลาของเราถ้าคำนวนไม่ดีนอกจากจะสินเปลืองแล้ว ยังทำให้ปลาที่เราเลี้ยงหรือสระน้ำที่เราต้องการสกปรกอีกต่างหาก แต่ถ้าทำให้บ่อบำบัดมีขนาดใหญ่ไปก็รังแต่จะทำให้หมดเปลืองไปอย่างเปล่าประโยชน์
ตัวอย่างบ่อกรองน้ำซึ่งสร้างเองจะต้องมีขนาดใหญ่ 1 ใน 3 ของบ่อน้ำ รวมกับบ่อด้วยแล้วต้องมีขนาด 4 ส่วนเลยทีเดียว


ข้อเสียของระบบกรองน้ำแบบเก่า
1.ต้องใช้เวลานานในการทำบ่อกรองน้ำ
2.ปั๊มน้ำที่ใช้กับบ่อกรองเป็นแบบปั๊มไดโว่ซึ่งวัตต์สูง ในระยะยาวจะเปลืองค่าไฟมาก
3.บ่อทำจากปูนก่ออิฐ เป็นแบบตายไม่สามารถเคลื่อนย้ายปรับปรุงเปลี่ยนแปลงย้ายจุดไม่ได้
4.ค่าใช้จ่ายสูง ใช้ช่างก่อสร้างไม่ดีมีโอกาศรั่วได้สูง
5.การทำบ่อส่วนใหญ่ทำจากประสพการณ์ในการทำงาน ไม่ทราบขนาดของบ่อกรองที่แน่นอน ว่าต้องทำขนาดเท่าไหร่กันแน่ถึงจะพอเหมาะกับขนาดของบ่อปลา
6.การทำความสะอาดบ่อกรองทำได้ยากต้องยกออกมาล้างข้องนอก
Oase จากประเทศเยอรมันกำลังทำเรื่องยากๆให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆโดยเราเพียงคำนวนปริมาณน้ำในบ่อมาโดยใช้สูตรคำนวน กว้างx ยาวx สูง ก็จะได้ปริมาณน้ำที่เราต้องการแล้ว จากนั้นก็เพียงเลือกรุ่นที่มีปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำของบ่อซึ่ง Oase คำนวนมาให้เรียบร้อยแล้ว เท่านี้คุณก็จะได้ชุดกรองน้ำ บำบัดน้ำเสีย ซึ่งประกอบด้วย
1.ชุดกรองน้ำ Filter เครื่องกรองซึ่งออกแบบมากรองน้ำในระบบ Biosystem คือการใช้ธรรมชาติบำบัดน้ำเสียโดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อย ไม่ใช้สารเคมี
2.ชุดกรองรังสียูวีซี UVC เครื่องฉายรังษี UVC ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่มากับน้ำต้นเหตุของการทำให้น้ำเสีย
3.ปั๊มน้ำ Pump. สำหรับบ่อกรองน้ำโดยเฉพาะซึ่งสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องปิด แถมยังประยัดไฟมากกว่า 50% ของการใช้ปั๊มไดโว่ ที่เราติดตั้งอยู่ปัจจุบันได้ด้วยด้วยการดีไซน์อย่างเหมาะสมลงตัวกับชุดกรองน้ำ และชุดฉายรังษี UVC

ชมวีดีโอสาธิตการทำงานของเครื่องกรองน้ำระบบ Biosystem
ปัญหาการเลี้ยงปลาตู้น้ำจืดคือปริมาณไนโตรเจน อันมีสาเหตุเกิดจากการขับถ่ายของเสียของสัตว์น้ำ และเศษอาหารที่
คั่งค้างอยู่ในตู้เกิดการหมักหมม โดยจะอยู่ในรูปแอมโมเนีย จากกระบวนการ mineralization และจะเปลี่ยนรูปเป็น
ไนไตรท์ และไนเตรทโดยแบคทีเรียในกระบวนการ nitrification ซึ่งพืชจะนำไนเตรทไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตและบางส่วนก็จะเปลี่ยนสารละลายไนโตรเจนในกระบวนการ denitrification (Escobal, 1996) น้ำที่มีปริมาณแอมโมเนียที่สูงเกินไปจะเกิดปัญหา คือ มีตะไคร่หรือสาหร่ายเกาะบริเวณกระจกของตู้เลี้ยง ทำให้ตู้เลี้ยงสกปรกไม่สวยงาม จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำและทำความสะอาดตู้ปลาอยู่เป็นประจำ จึงได้มีการนำระบบกรองน้ำเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบกรองน้ำภายในตู้ (internal filters) และระบบกรองน้ำภายนอกตู้ (external filters)
ข้อจำกัดการใช้ระบบกรองน้ำ คือ ถ้าของเสียมากจนเกินไป ประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียในระบบกรองน้ำก็ใช้ไม่ได้ผลและจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในปัจจุบัน
ขบวนการ Bio Filtration System คือ การเพิ่มจำนวนแบคทีเรียในระบบกรอง
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการตั้งตู้เลี้ยงปลา ซึ่งถ้าข้ามขั้นตอนนี้ไปปลาที่นำมาเลี้ยงจะตายในระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เนื่องจากของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมาสะสมมากขึ้นจนเป็นพิษกับปลา เนื่องจากเมื่อมีการตั้งตู้ใหม่ๆจะยังไม่มีแบคทีเรียเกิดขึ้นในระบบกรอง ซึ่งทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในตู้ ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่มีหน้าที่กำจัดของเสียให้มีจำนวนมากขึ้นก่อนการปล่อยปลาลงเลี้ยง
แบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า “ไนตริฟายอิ้ง แบคทีเรีย, Nitrifying bacteria” ทำหน้าที่เปลี่ยนแอมโมเนียและไนไตร์ต ซึ่งเป็นพิษกับปลาให้กลายเป็นไนเตรต การเกิดและเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ตัวแบคทีเรียเริ่มต้นสำหรับทำหน้าที่ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับของเสียที่เกิดจากการขับถ่ายของปลา ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปหาที่ไหนเนื่องจากในอากาศและสิ่งแวดล้อมในตู้จะมีแบคทีเรียเหล่านี้อยู่แล้ว สองคืออาหารของแบคทีเรีย ซึ่งก็คือของเสียที่ขับถ่ายออกมาจากปลานั่นเอง แต่การนำปลามาใส่ในขั้นตอนนี้จะทำให้ปลาตายได้เนื่องจากระบบยังไม่มีแบคทีเรียเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ จึงมักจะใช้พวกอาหารปลาหรือเศษเนื้อกุ้งขนาดเล็กๆ ใส่ลงไปในตู้เป็นประจำอาทิตย์ละครั้งต่อเนื่อง 4-6 อาทิตย์ เพื่อให้เกิดการเน่าเสียและเกิดแอมโมเนียที่เป็นอาหารให้กับแบคทีเรีย สาม คือ ที่อยู่ของแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้จะเกาะติดกับผิววัสดุ เช่น บนวัสดุกรองที่เตรียมไว้ หรือบนหินและทรายที่อยู่ในบ่อ สี่ คือ อากาศหายใจซึ่งในตู้ก็จะมีอากาศที่เป่าลงไปในน้ำอยู่แล้ว
เมื่อในตู้ที่ตั้งไว้มีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ และเดินระบบกรองทิ้งไว้ ให้ตรวจคุณภาพน้ำ เป็นประจำทุก 2-3 วัน จะพบว่าในช่วงแรกปริมาณแอมโมเนียที่ตรวจพบจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจนสูงสุดแล้วจะลดปริมาณลง หลังจากที่แอมโมเนียเริ่มลดลงก็จะตรวจพบว่ามีไนไตรต์เกิดขึ้นและจะมีปริมาณพิ่มขึ้นเรื่อยๆและในที่สุดก็จะลดลง หลังจากที่เริ่มมีไนไตรต์เกิดขึ้น ก็จะสามารถตรวจพบไนเตรต และไนเตรตที่เกิดขึ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับและสะสมอยู่ในระบบตามระยะเวลาที่ผ่านไป เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 4-6 อาทิตย์ แบคทีเรียก็จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในระบบกรอง และจะทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตรวจไม่พบ แอมโมเนียหรือไนไตรต์หรือหากพบก็จะพบในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งเมื่อถึงขั้นนี้บ่อที่เตรียมไว้ก็พร้อมที่จะลงปลาได้ แต่ก่อนลงควรจะทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเก่าออกให้เกือบหมดและเติมน้ำใหม่เข้าไปแทนที่
เมื่อบ่อปลาที่ตั้งไว้ผ่านขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว ก็สามารถที่จะลงปลาได้ แต่การปล่อยปลาไม่สามารถที่จะปล่อยได้ที่เดียวพร้อมกัน เพราะการปล่อยปลาลงเลี้ยงพร้อมกันมากๆในครั้งเดียวจะทำให้ของเสียที่ขับถ่ายออกมามีจำนวนมาก ซึ่งแบคทีเรียไม่สามารถกำจัดของเสียได้หมด และไม่สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นมารองรับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นได้ทัน ดังนั้นการปล่อยปลาจะต้องแบ่งออกเป็น 3-4 ชุด และห่างกัน 5-7 วัน โดยหลังจากปล่อยชุดแรกแล้ว ให้ทำการตรวจปริมาณของแอมโมเนียและไนไตรต์อย่างต่อเนื่องทุกวัน ติดต่อกัน ถ้าปริมาณที่ตรวจพบไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มแต่ลดลงจนตรวจไม่พบในที่สุดใน 2-3 วัน จึงจะปล่อยปลาในชุดต่อไปได้ แต่หากไม่ลดลงต้องรอให้ลดลงจนใกล้ศูนย์จึงจะปล่อยปลาในชุดต่อไปได้ โดยหลังการปล่อยปลาแต่ละชุดต้องตรวจปริมาณแอมโมเนียและไนไตร์ตทุกครั้ง ทำเช่นนี้จนปล่อยปลาครบตามที่กำหนดไว้




คำถามที่พบบ่อย
Oase จากประเทศเยอรมัน ทำให้การเลือกชุดกรองน้ำสำหรับบ่อปลาเป็นเรื่องง่ายๆครับ
ถาม: จะสร้างบ่อกรองขนาดเท่าไหร่ดีถึงจะเหมาะกับบ่อปลาของเรา?
ตอบ: -
ถาม: แล้วจะใสจริงหรือเปล่าเมื่อสร้างเสร็จแล้ว
ตอบ: -
คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ผมถูกถามบ่อยมาก สำหรับ Oase เราทำให้การเลือกบ่อกรองเป็นเรื่องง่ายมากๆครับ
ในการที่เราจะเลือกระบบกรองน้ำสำหรับเลี้ยงปลา ถ้าเป็นบ่อปูน เพียงแค่เราทราบปริมาณน้ำภายในบ่อ ซึ่งหาได้จากขนาดบ่อโดยใช้สูตรในการหาปริมาตรเหมือนที่เราเรียนมาตอนเด็กๆนั้นเอง
*สูตรคือ กว้างxยาวxสูง (หน่วยเป็นเมตร) เช่นบ่อ กว้าง = 2 ม., ยาว = 3 ม.,สูง = 0.7 ม.(สูงประมาณ 70 เซนติเมตร)
*2x3x0.7 ม.= 4.2 ลูกบาศ์กเมตร (m3) แค่นี้เราก็ได้ปริมาณน้ำที่ต้องการแล้ว จากนั้นก็แค่มาเลือกตามตาราง ตามลิงค์นี้ได้เลยครับ
ดาวน์โหลดคู่มือตารางการเลือกน้ำที่นี่ Selection tables-biosys.pdf ว่าปริมาณน้ำของเราขนาดนี้ ไปตกทีช่องไหน แค่นี้เราก็จะสามารถเลือกรุ่นของ ปั๊มน้ำ ชุดกรองน้ำ เครื่องฉายรังษี UVC ให้เหมาะสมได้แล้วไม่ซื้อเล็กเกินไป ไม่ใหญ่เกินไป แค่นี้น้ำของพี่ก็จะใสจนเห็นพื้นบ่อเลยครับ Oase รับประกันมาครับ
Oase จากประเทศเยอรมัน ทำให้การเลือกชุดกรองน้ำเป็นเรื่องง่ายๆครับ