ReadyPlanet.com
dot
หัวสปริงเกอร์
dot
bulletหัวสปริงเกอร์ Nodolini
bulletหัวสปริงเกอร์ RainBird
bulletหัวสปริงเกอร์ DH
bulletสปริงเกอร์ SUPER GUN
bulletชุดสปริงเกอร์สนามฟุตบอล
bulletสปริงเกอร์ NAANDAN
bulletสปริงเกอร์ SP
bulletหัวสปริงเกอร์ Weathermatic
bulletหัวสปริงเกอร์ Impact
bulletหัวสปริงเกอร์ Raco
bulletหัวสปริงเกอร์ SIME
bulletมินิสปริงเกอร์
bulletหัวสปริงเกอร์ แบบPop-up
bulletหัวสปริงเกอร์ขนาดเล็ก
bulletสปริงเกอร์ yuzuak
dot
หัวพ่นหมอก
dot
bulletหัวพ่นหมอก(สแตนเลส)
bulletLUCKY PRO (FOG MACHINE)
bulletปั๊มพ่นหมอกComet
bulletหัวพ่นหมอก(พลาสติก)
bulletพัดลมไอหมอก Our Products
bulletHigh Pressure Pump
bulletMisting Fan
dot
ระบบน้ำหยด
dot
bulletท่อน้ำหยด
bulletการติดตั้งน้ำหยด
bulletหัวน้ำหยด
bulletเกี่ยวกับน้ำหยด
dot
เครื่องตั้งเวลา
dot
bulletเครื่องตั้งเวลา Raco
bulletเครื่องตั้งเวลารดน้ำ ยี่ห้อ RAIN BIRD ประเทศสหรัฐอเมริกา
bulletเครื่องตั้งเวลา Hunter
bulletเครื่องตั้งเวลา Weathermatic
dot
ปั๊มน้ำ
dot
bulletElectra
bulletResun ปั๊มน้ำพุขนาดเล็ก
bulletปั๊มน้ำติดเครื่องยนต์
bulletปั๊มน้ำติดเครื่องยนต์ เบนซิน
bulletเครื่องยนต์อเนกประสงค์
bulletบริการเพิ่มโฆษณา
bulletHCP Pumps
dot
อุปกรณ์เสริม
dot
bulletโซลีนอยด์วาล์ว Rain
bulletโซลีนอยด์วาล์ว Weathermatic
bulletเกี่ยวกับชุดกรองน้ำ
bulletขาตั้งสปริงเกอร์
bulletวาล์วผสมปุ๋ย
dot
PE PIPE, ท่อพีอี
dot
bulletท่อพีอี
bulletชุดข้อต่อ
dot
น้ำพุ Osae
dot
bulletน้ำพุ Oase
bulletDancing Fountain Oase
bulletJumping Jet Oase
bulletWater Trio and Water Quintet
bulletWater Jet Lightning
bulletWater Startlet
dot
หัวน้ำพุ
dot
bulletระบบน้ำพุเต้นรำ
bulletหัวน้ำพุ ราคาประหยัด
dot
ระบบกรองน้ำบ่อปลา
dot
bulletเครื่องดูดน้ำ Oase(Pondovac4)
bulletระบบบำบัดน้ำ Oase
bulletSwimSkim 25
bulletเครื่องดูดตะกอนOASE รุ่นใหม่ Pondovac 5
bulletAQUASKIM 40
bulletเครื่องเติมอากาศ บ่อปลา
dot
สระว่ายน้ำ
dot
bulletSand Filter
bulletอุปกรณ์ทำความสะอาด แบบอัตโนมัติ
bulletCartridge filtres
bulletSpa pump
bulletAlaska pump
dot
โคมไฟ
dot
bulletโคมไฟใต้น้ำ JESTA
bulletLuminis 3 warm-white + cold - white
bulletLunaqua 10 System Spotlight range
bulletโคมไฟใต้น้ำ LED น้ำพุ
bulletConnector kit ชุดต่อสายไฟใต้น้ำ
bullet Epoxi สำหรับต่อสายไฟ
bulletโคมไฟใต้น้ำ สระว่ายน้ำ
dot
การออกแบบ
dot
bulletรับออกแบบ ระบบสปริงเกอร์
bulletรับออกแบบ ระบบน้ำพุ
bulletรับออกแบบ ม่านน้ำพุ
dot
ความรู้เกี่ยวกับระบบสปริงเกลอร์
dot
bulletองค์ประกอบในการทำระบบน้ำ
bulletแนวทางการติดตั้งมินิสปริงเกอร์
bulletแนวทางการติดตั้งหัวมินิสปริงเกอร์และหัวฉีดสเปรย์
bulletรูปแบบการติดตั้งระบบน้ำหยด
dot
น้ำพุให้เช่า
dot
bulletน้ำพุให้เช่า
bulletภาพการบำบัดด้วยระบบกรอง Oase
bulletชมวีดีโอการทำงานน้ำพุ
bulletชมวีดีโอการทำงานสปริงเกอร์
dot
VDO การติดตั้ง
dot
dot
Newsletter

dot
bulletชมวีดีโอการทำงานของหัวพ่นหมอก
dot
รับสมัครงาน
dot
bulletร่วมงานกับเรา
bulletwww.rujirashop.com
dot
เว็บบริษัทในเครือ
dot
bulletwww.hikarithai.com
bulletwww.nanofac.com
bulletwww.fountainthai.com
dot
บริการแลกลิงค์
dot
bulletแลกlink sprinklethai


รับออกแบบ ติดตั้ง ระบบ สระว่ายน้ำ น้ำพุ จำหน่ายอุปกรณ์ช่าง อุปกรณ์สระว่าย น้ำ ขายปั๊มน้ำ เครื่องกรอง สระว่ายน้ำ
ศูนย์รวมเครื่องมืออุปกรณ์คาร์แคร์
รับออกแบบระบบน้ำพุ Musucal fountain


หัวน้ำหยด Drip article

เมื่อพูดถึง ระบบน้ำหยด ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรไทย ซึ่งระบบนี้ได้รับความนิยมในต่างประเทศมานานแล้ว โดยเฉพาะในประเทศอิสราเอล ได้คิดค้นและเริ่มใช้มาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1940 โดยวิศวกรชื่อ Symcha Blass และได้แพร่หลายออกไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้นำอุปกรณ์นำเข้า และเกษตรกรยังพึ่งน้ำฝนอยู่ สำหรับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการชลประทานน้ำหยด ปัจจุบันนี้ไทยเรายังผลิตเองไม่ได้ทั้งหมด บางอย่างต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น อุปกรณ์จ่ายปุ๋ย วาล์วไฟฟ้า และระบบหม้อกรอง เป็นต้น



ระบบน้ำหยด เป็นเทคโนโลยีการชลประทานวิธีหนึ่งในหลายวิธี เป็นการให้น้ำแก่พืช โดยการส่งน้ำผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยด ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึมลงมาบริเวณรากช้า ๆ สม่ำเสมอในอัตรา 4-20 ลิตร ต่อชั่วโมง ที่แรงดัน 5-25 PSI ขึ้นอยู่กับระบบ ชนิดพืช ขนาดพื้นที่ และชนิดของดิน ทำให้ดินมีความชื้นคงที่ในระดับที่พืชต้องการและเหมาะสมตลอดเวลา ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของน้ำหยดมีหลายประการ

1. ประหยัดน้ำมากกว่าทุก ๆ วิธี ไม่ว่ารดด้วยมือหรือใช้สปริงเกลอร์ หรือวิธีอื่นใดก็ตามและแก้ปัญหาภาวะวิกฤตการขาดแคลนน้ำในบางฤดูซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในปัจจุบัน

2. ประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการ กล่าวคือ ลงทุนครั้งเดียวแต่ให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้งอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก ติดตั้งครั้งเดียวและใช้งานได้ตลอดอายุ สามารถควบคุมการ เปิด-ปิดน้ำ โดยใช้ระบบ manual และ automatic หรือ micro controler โดยเฉพาะระบบตั้งเวลาและตรวจจับความชื้นทำให้ประหยัดค่าแรง มีรายงานการใช้แรงงานดูแลและบำรุงรักษาระบบในแปลงองุ่นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ พบว่า ใช้แรงงาน 1 แรง ต่อพื้นที่ 50 เอเคอร์ (100 ไร่) ต่อวัน

3. ใช้ได้กับพื้นที่ทุกประเภทไม่ว่าดินร่วน ดินทราย หรือดินเหนียว รวมทั้งดินเค็มและดินด่าง น้ำหยดและไม่ละลายเกลือมาตกค้างอยู่ที่ผิวดินบน

4. สามารถใช้กับพืชประเภทต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นพืชที่ต้องการน้ำขัง

5. เหมาะสำหรับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ต้องการใช้น้ำอย่างประหยัด

6. ให้ประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงที่สุด 75-95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้มีการสูญเสียน้ำน้อยที่สุด และเมื่อเทียบกับการปล่อยน้ำท่วมขัง มีประสิทธิภาพเพียง 25-50 เปอร์เซ็นต์ ในระบบสปริงเกลอร์ แบบติดตายตัวมีประสิทธิภาพ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และในระบบสปริงเกลอร์แบบเคลื่อนย้ายมีประสิทธิภาพ 65-75 เปอร์เซ็นต์ ประหยัดเวลาทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้า ใช้เวลาไปทำอย่างอื่นได้เต็มที่ ไปพร้อม ๆ กับการใช้น้ำ

7. ประหยัดเวลาทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้า ใช้เวลาไปทำงานอย่างอื่นได้เต็มที่ไปพร้อม ๆ กับการให้น้ำ

8. ลดการระบาดของศัตรูพืชบางชนิดได้ดี เช่น โรคพืช และวัชพืช

9. ได้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ระบบชลประทานแบบอื่น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ประหยัดต้นทุนน้ำ ทำให้มีกำไรสูงกว่า

10. ระบบน้ำหยด สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นละลายไปกับน้ำพร้อม ๆ กันทำให้ไม่ต้องเสียเวลาใส่ปุ๋ย พ่นยาอีก ทั้งนี้ต้องติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย (injector) เข้ากับระบบ

ระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับเกษตรไทยจึงมีข้อจำกัดอยู่

ต้องใช้ต้นทุนสูงในระยะแรก การติดตั้งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ และเกษตรกรจะต้องมีความรู้ปริมาณการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดที่ปลูก เช่น มะเขือเทศ ต้องการปริมาณน้ำประมาณ 40 มิลลิเมตร/ไร่/วัน หรือประมาณ 1.5 ลิตร/ต้น/วัน เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรต้องมีการค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบติดตั้ง และบริหารระบบ จะต้องคำนึงถึงการจัดการระบบ เช่น ระยะเวลาให้น้ำ การใช้ปุ๋ย ชนิดปุ๋ย ตลอดจนต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ พืชจึงจะได้ปุ๋ย หรือสารเคมี ใช้อย่างพอทุกช่วงการเจริญเติบโต

การบริหารระบบน้ำหยดให้ได้ผลสูงสุด มี 3 ประการ

1. การให้น้ำปริมาณที่เหมาะสม กับความต้องการของพืชแต่ละชนิด

2. การให้ปุ๋ยปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะละลายผ่านเข้าสู่ระบบ

3. การวางแผนการบำรุงรักษาระบบ

อุปกรณ์จ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยด คืออะไร

อุปกรณ์จ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งเพิ่มเติม จุดหนึ่งของระบบน้ำหยด ทำหน้าที่ช่วยดูดสารละลายปุ๋ยเข้าสู่ระบบ น้ำกับปุ๋ยจะละลายปนกันไปจ่ายออกทางหัวน้ำหยด ปัจจุบันอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยที่มีจำหน่ายเป็นของต่างประเทศ นำเข้ามาใช้กันอยู่บ้างแต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากมีราคาแพงมาก ซึ่งถ้าเป็นเกษตรกรรายย่อยทั่วไป ไม่สามารถหาซื้อมาใช้ในการเพาะปลูกเพราะไม่เหมาะกับการลงทุนและมีข้อจำกัดบางประการ โดยเฉพาะถ้ามีการอุดตันในช่องดูดปุ๋ยจะทำความสะอาดได้ยาก เนื่องจากช่องดูดปุ๋ยมีลักษณะเป็นช่องแบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบ ๆ นอกจากนี้การผลิต ต้องใช้ระบบการหลอมและขึ้นรูปพลาสติกในระบบโรงงานเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถใช้วัสดุและภูมิปัญญาในท้องถิ่นทำได้ หรือถ้าทำได้ก็ต้องออกแบบใหม่หรือทำเลียนแบบ ซึ่งอาจมีความผิด ฐานละเมิดสิทธิบัตร

วัตถุประสงค์หลักในการประดิษฐ์อุปกรณ์จ่ายปุ๋ย ในระบบน้ำหยดในครั้งนี้ นอกจากเพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสได้ใช้ของมีราคาถูก โดยได้ออกแบบและประดิษฐ์ไม่ซ้ำแบบของต่างประเทศในขนาดเดียวกัน พบว่ามีราคาถูกกว่าของต่างประเทศกว่า 10 เท่าตัว มีประสิทธิภาพการใช้งานดีกว่าคือ อุดตันได้ยากกว่า แต่ใช้หลักการทำงานแบบเดียวกัน กล่าวคือ เป็นระบบ venturi tube ซึ่งง่ายต่อการติดตั้งและใช้งานโดยเฉพาะอุปกรณ์นี้ สามารถผลิตได้โดยใช้วัสดุและเครื่องมืออุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือสามารถหลอมขึ้นรูปพลาสติกให้เป็นชิ้นเดียวกันในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางก็ได้ ซึ่งราคาไม่รวมเครื่องปั๊มน้ำ ประมาณไม่เกิน 100 บาท หรือแพงกว่านี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้

ลักษณะทั่วไปของอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยดที่ประดิษฐ์ มีลักษณะที่เป็นท่อ 2 ส่วน คือท่อหลักกับท่อแยก ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้เชื่อมต่อกันตรงกลางคล้ายท่อสามทาง

ท่อหลัก มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลวงใน บริเวณตอนกลางท่อภายในจะมีผนังหนาและมีรูคอคอดขนาดเล็กทะลุถึงกัน ผนังคอคอดด้านเข้า มีลักษณะเป็นกรวยสอบเข้าหารู ส่วนทางด้านน้ำออกผนังภายในตัดตรงตั้งฉากกับผิวเท่ารูคอคอด มีลักษณะเป็นรูกลม ขนาดเท่ากันตลอด

ส่วนที่ 2 คือ ท่อแยก เป็นท่อสั้นและมีขนาดเล็กกว่าท่อหลัก วางตั้งฉากติดกับท่อหลัก ภายในมีรูคอคอดเช่นกัน จุดเชื่อมของรูคอคอดภายในระหว่าง 2 ท่อนี้ ทำมุม a ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของท่อแยกนี้ใช้ต่อกับท่อพลาสติก ทำหน้าที่ดูดสารละลายปุ๋ยเข้าไป ในรูคอคอดของท่อหลักผสมกับน้ำส่งออกไปยังหัวน้ำหยดต่อไป

หลักการทำงานของอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย

การให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำหยด โดยใช้อุปกรณ์จ่ายปุ๋ย มีหน้าที่ดูดปุ๋ยที่เป็นสารละลายเข้าไปในระบบท่อโดยไม่ต้องใช้ปั๊มเครื่องยนต์กลไกที่เคลื่อนไหวจากไฟฟ้าหรือน้ำมันให้สิ้นเปลือง แต่เป็นการใช้พลังงานจากมวลและความเร็วของน้ำที่อยู่ในท่อนั่นเอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ของธรรมชาติที่มีทั้งพลังงานศักย์ พลังงานจลน์ และแรงดันของน้ำภายในท่ออุปกรณ์จ่ายปุ๋ยระบบน้ำหยด ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ ประเภทท่อที่มีช่องคอคอด ซึ่งไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว และประเภทที่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวคือ มีลูกสูบเคลื่อนที่ด้วยพลังน้ำ หรือเป็นชนิดใช้ไฟฟ้า สำหรับประเภท venturi tube ทำงานโดยอาศัยหลักการของ Daniel Bernoulli ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้ตั้ง โดยให้นิยามว่า เมื่อของเหลวหรือก๊าซ เคลื่อนที่เร็วขึ้นความดันจะลดลง หรือเมื่อความเร็วลดลงความดันของมันจะเพิ่มขึ้น ผลงานของ Bernoulli ที่นำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ระบบคาร์บูเรเตอร์ในรถยนต์ ระบบปั๊มสุญญากาศ ระบบลูกยางสเปรย์น้ำหอม และระบบท่อ venturi ของเครื่องจ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยด เป็นต้น

การติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย

เนื่องจากอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย venturi มีลักษณะเป็นท่อ คล้ายข้อต่อสามทางในระบบท่อชนิดโลหะหรือ ท่อ PVC ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในแปลงเกษตร เพียงแต่เลือกใช้ข้อต่อระหว่างสองปลายให้เหมาะสมกับรุ่น กล่าวคือ ใช้ข้อต่อชนิดเกลียวนอก เกลียวใน หรือเป็นหน้าแปลนยึดด้วยตัวสลักเกลียวเหมือนการต่อท่อตามปกติเพียงแต่เพิ่มข้องอเพื่อต่อเป็นท่อแยกขนานออกมาต่างหาก ติดตั้งวาล์วควบคุมการไหลของน้ำผ่านอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยโดยใช้ประตูน้ำที่ท่อแยก 2 ตัว และที่ท่อส่งน้ำหลัก 1 ตัว อุปกรณ์จ่ายปุ๋ยควรติดตั้งให้อยู่ระดับความสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร มีบริเวณพื้นที่ส่วนหนึ่งเพียงพอสำหรับวางทับหรือภาชนะใส่สารละลายปุ๋ย และสะดวกต่อการใช้ท่อยางสำหรับดูดปุ๋ยจุ่มแช่ในภาชนะ

อย่างไรก็ตาม การติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีการให้น้ำพืชแบบใหม่ กล่าวคือ เมื่อติดตั้งระบบน้ำหยดแล้วควรเพิ่มอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยเข้าไปด้วย จึงถือว่าครบระบบ

ประโยชน์ของอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย

1. การให้ปุ๋ยไปพร้อม ๆ กันกับน้ำหยดจะทำให้พืชเจริญเติบโตสม่ำเสมอ และควบคุมการให้ผลผลิตนอกฤดูกาลได้

2. ประหยัดปุ๋ยกว่าวิธีอื่น เพราะมีการคำนวณหาค่าความเข้มข้น ค่าเฉลี่ย/ต้น/ปริมาณน้ำ พืชจะได้รับปุ๋ยและน้ำพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป ไม่เกิดการสูญเสีย

3. พืชจะได้รับอาหารและแร่ธาตุสม่ำเสมอตามความต้องการในแต่ละช่วงอายุ ที่ละลายน้ำ พืชดูดไปใช้ได้ทันที

4. ประหยัดแรงงานในการให้ปุ๋ย ขนปุ๋ย หว่านปุ๋ย และใช้ได้สะดวกแม้อยู่ในหน้าฝน

5. สามารถให้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช อาหารเสริมต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยชีวภาพ ชนิดน้ำเข้าในระบบได้อย่างสะดวก

6. ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการระบาดของโรคพืช วัชพืช ลดต้นทุน ลดการปนเปื้อนของสารเคมี

 

บทความที่สอง

การให้น้ำแบบเฉพาะจุด (LOCAUZE IRRIGATION)
การให้น้ำแบบเฉพาะจุด เป็นการให้น้ำแก่พืชที่จุดใด้จุดหนึ่งหรือหลายๆ จุดบนผิวดินหรือใน เขตรากพืช โดยอัตราของน้ำที่ให้นั้นไม่มากพอที่จุทำให้ดินในเขตรากพืชเปียกชุ่มเป็นบริเวณกว้าง ปกติแล้วผิวดินจะเปียกแต่ตรงจุดที่ให้น้ำเท่านั้นน้ำที่ให้แก่พืชอาจจุอยู่ในรูปของเม็ดน้ำเล็กๆ ซึ่งฉีดจากหัวฉีดขนาดเล็กที่ต้องการแรงดันไม่มากนัก เรียกว่า แบบมินิสปริงเกลอร์ หรือเป็นหยดน้ำเล็กๆ ที่ไหลจากหัวน้ำหยดหรือท่อพลาสติกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน ๑ ถึง ๒ มิลลิเมตร เรียกว่าแบบน้ำหยด หัวฉีดหรือท่อพลาสติกนี้จะวางในบริเวณโคนต้นพืช โดยมีท่อพลาสติกหรือสายยางขนาดใหญ่เป็นท่อจ่ายน้ำ ซึ่งนำน้ำจากท่อประธานอีกทีหนึ่ง จำนวนหัวฉีดหรือท่อพลาสติกจะขึ้นอยู่กับความต้องการน้ำ ของพืช และเนื่องจากจำนวนของท่อหรือหัวฉีดซึ่งทำหน้าที่จ่ายน้ำมีขนาดเล็กมาก น้ำที่ใช้จึงต้องปราศ จากตะกอนที่มาอุดตันในท่อพลาสติกหรือหัวฉีด บางครั้งจะต้องให้น้ำผ่านเครื่องกรองตะกอนเสียก่อน
การเลือกใช้การให้น้ำแบบเฉพาะจุด
การให้น้ำแบบนี่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ที่มีน้อยอย่างจำกัดหรือมีราคาแพงมาก ดินที่เหมาะกับการให้น้ำแบบนี้ โดยเฉพาะน้ำหยดควรจะเป็นดินที่มีเนื้อละเอียดจนถึงค่อนข้าง หยาบ เพราะเป็นดินที่มีการไหลซึมทางด้านข้างที่ดี ดินที่มีความโปร่งมากจะทำให้ความชื้นในดิน แผ่นกระจายไปไม่ทั่วเขตรากพืช ถ้าเป็นดินที่มีการไหลซึมทางด้านข้างดีแล้วน้ำจะแผ่กระจายได้ดี ซึ่งเป็นผลให้สามารถลด จำนวนหัวจ่ายน้ำลงได้ เนื่องจากว่าการให้น้ำแบบนี้มีระยะการให้น้ำยาวนาน แต่ไม่ทำให้ดินเปียกชุ่มเป็นบริเวณกว้าง จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับพืชที่มีรากตื้นและต้องการให้ดินมีความชื้นสูงอยู่แบบนี้ใช้ได้ดีกับพืช ยืนต้นเหมือนกัน แต่เนื่องจากการลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้กับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น ไม้ผลต่างๆ เป็นต้น
อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบการให้น้ำแบบเฉพาะจุด คือ
๑. เครื่องสูบน้ำ (Pumping Unit) จะทำหน้าที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำและเพิ่มความดันของน้ำ แล้วส่งไปตามท่อจ่ายน้ำ เครื่องสูบน้ำอาจจะเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้าก็ได้
๒. เครื่องกรองน้ำ (Filter) จะทำหน้าที่กรองเอาเศษวัชพืช ใบไม้เมล็ดพืชและทราย ออกจากน้ำ ถ้าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ผ่านไปจะทำให้หัวจ่ายน้ำเกิดการอุดตัน เป็นสาเหตุให้ต้นไม้ขาดน้ำเกิดชะงักการเจริญเติบโตถ้าเกิดขึ้นในช่วงที่ออกดอกหรือการให้ผลจะ ทำให้ดอกหรือผลร่วงเกิดความเสียหาย
๓. หัวจ่ายน้ำ (Sprinkler Unit) ทำหน้าที่จ่ายน้ำในลักษณะหยดหรือฉีดออกมาเป็นฝอยละออง
๔. ท่อประธาน (Mainline Pipe Unit) ทำหน้าที่ส่งน้ำจากเครื่อง-สูบน้ำไปสูบท่อแยก ท่อประธานอาจจะเป็นท่อพลาสติกหรือท่อโลหะก็ได้
๕. ท่อย่อย (Lateral Pipe Unit) ทำหน้าที่จ่ายน้ำจากท่อประธานให้กับหัวจ่ายน้ำ ท่อย่อยอาจจะเป็นชนิดเดียวกับท่อประธานแต่มีขนาดเล็กกว่าและมีอุปกรณ์หัวจ่ายติดตั้งบนท่อ เพื่อจ่ายน้ำให้กับต้นพืช
ข้อดีของระบบการให้น้ำแบบเฉพาะจุด
๑. ประสิทธิภาพการให้น้ำสูงมาก เพราะว่าสามารถควบคุมน้ำได้ทุกขั้นตอน และมีการสูญเสีย โดยการระเหยน้อย
๒. ค่าใช้จ่ายในการให้น้ำน้อยเพราะไม่ต้องใช้แรงงานในการให้น้ำมาก
๓. สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ แก่พืชพร้อมๆ กับการให้น้ำได้ด้วย ดดยการผสมปุ๋ยหรือ สารเคมีเข้ากับน้ำทางท่อดูดของเครื่องสูบน้ำเข้าไปในระบบ
๔. ไม่มีปัญหาโรคพืชหรือแมลงที่เกี่ยวเนื่องจากการเปียกชื้นของใบ
๕. ลดปัญหาของการแพร่กระจายของวัชพืชเนื่องจากน้ำที่ให้พืชจะเปียกผิวดินเป็นบริเวณแคบๆ เท่านั้น
๖. ไม่มีปัญหาเรื่องลมแรงที่จะพัดพาน้ำไปตกที่อื่น
๗. ไม่ต้องใช้ระบบส่งน้ำขนาดใหญ่หรือเครื่องสูบน้ำที่มีแรงดันสูง
๘. เนื่องการให้ปุ๋ยและสารเคมีโดยการผสมลงไปกับน้ำ ดังนั้นค่าใช้จ่ายสำหรับปุ๋ยและสารเคมี ก็จะลดลงด้วย
๙. ระบบกาครให้น้ำแบบน้ำจะมีระยเวลาการใช้งานที่ยาวนานยกเว้นเรื่องการอุดตันของหัวจ่าย น้ำ
๑๐. สามารถทำการติดตั้งการให้น้ำแบบอัตโนมัติได้ไม่ยาก เช่น ให้น้ำตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ หรือให้น้ำเมื่อความชื้นของดินในเขตราบลดลงถึงระดับหนึ่งเป็นต้น
๑๑. ไม่มีปัญหาเรื่องอัตราการซึมของน้ำเข้าไปในดิน เพราะอัตราการให้น้ำจะไม่มากพอที่จะ ทำให้ดินเปียกชุ่มเป็นบริเวณกว้างอยู่แล้ว
๑๒. เนื่องจากปริมาณน้ำที่ให้และที่สูญเสียไปโดยการระเหยน้อยดังนั้นการสะสมของเกลือที่ ติดมากับน้ำในเขตรากพืชจึงไม่มาก
ข้อเสียของระบบการให้น้ำแบบเฉพาะจุด
๑. มีปัญหาเรื่องอุดตันที่หัวจ่ายน้ำมากเนื่องมาจากตะกอนทรายตะไคร่น้ำ หรือเนื่องมาจากการ สะสมตัวของสารเคมีในน้ำ
๒. เนื่องจากบริเวณที่เปียกชื้นไม่กว้างขวางนัก ความเข้มข้นของเกลือซึ่งมักจะเกิดขึ้นในบริเวณ รอบนอกของส่วนที่เปียกชื้นจึงมักจะสูงและอาจจะเป็นอันตรายต่อพืชได้
๓. สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ แก่พืชพร้อมๆ กับการให้น้ำได้ด้วย โดยการผสมปุ๋ยหรือ เคมีเข้ากับน้ำทางท่อดูดของเครื่องสูบน้ำเข้าไปในระบบ
๔. ค่าลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูงเพราะจะต้องมีอุปกรณ์หลายอย่าง
การที่จะพิจารณาที่นำระบบการให้น้ำแบบประหยัดมาใช้ ควรจะมีการพิจารณาดังนี้
๑. เมื่อมีการให้น้ำแล้ว ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตจะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดคุ้มค่า หรือไม่
๒. ราคาของผลผลิตนั้นคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไปหรือไม่กับการที่จะลงทุนติดตั้งระบบการ ให้น้ำพืช
๓. จะต้องแน่ใจแล้วว่า แหล่งน้ำที่มีอยู่นั้นมีเพียงพอกับการให้น้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
ถ้าเกษตรกรท่านใดยังมีข้อสงสัยหรือมีความสนใจให้ติดต่อมายัง กลุ่มงานจักรกล การเกษตร สถาบันพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต กรมส่งเสริมการเกษตร บางเขน กทม. ๑๐๙๐๐ โทร ๕๗๙๓๙๑๖, ๕๗๙๑๔๐๔
ศึกษาเพิ่มเติมที่เวปhttp://www.doae.go.th/library/html/detail/KUmagazine/february_44/upakon/water.htm




สปริงเกลอร์ แบบต่างๆ

Article Name: Column2 - Article2
Article Name: Column2 - Article1