ReadyPlanet.com
dot
หัวสปริงเกอร์
dot
bulletหัวสปริงเกอร์ Nodolini
bulletหัวสปริงเกอร์ RainBird
bulletหัวสปริงเกอร์ DH
bulletสปริงเกอร์ SUPER GUN
bulletชุดสปริงเกอร์สนามฟุตบอล
bulletสปริงเกอร์ NAANDAN
bulletสปริงเกอร์ SP
bulletหัวสปริงเกอร์ Weathermatic
bulletหัวสปริงเกอร์ Impact
bulletหัวสปริงเกอร์ Raco
bulletหัวสปริงเกอร์ SIME
bulletมินิสปริงเกอร์
bulletหัวสปริงเกอร์ แบบPop-up
bulletหัวสปริงเกอร์ขนาดเล็ก
bulletสปริงเกอร์ yuzuak
dot
หัวพ่นหมอก
dot
bulletหัวพ่นหมอก(สแตนเลส)
bulletLUCKY PRO (FOG MACHINE)
bulletปั๊มพ่นหมอกComet
bulletหัวพ่นหมอก(พลาสติก)
bulletพัดลมไอหมอก Our Products
bulletHigh Pressure Pump
bulletMisting Fan
dot
ระบบน้ำหยด
dot
bulletท่อน้ำหยด
bulletการติดตั้งน้ำหยด
bulletหัวน้ำหยด
bulletเกี่ยวกับน้ำหยด
dot
เครื่องตั้งเวลา
dot
bulletเครื่องตั้งเวลา Raco
bulletเครื่องตั้งเวลารดน้ำ ยี่ห้อ RAIN BIRD ประเทศสหรัฐอเมริกา
bulletเครื่องตั้งเวลา Hunter
bulletเครื่องตั้งเวลา Weathermatic
dot
ปั๊มน้ำ
dot
bulletElectra
bulletResun ปั๊มน้ำพุขนาดเล็ก
bulletปั๊มน้ำติดเครื่องยนต์
bulletปั๊มน้ำติดเครื่องยนต์ เบนซิน
bulletเครื่องยนต์อเนกประสงค์
bulletบริการเพิ่มโฆษณา
bulletHCP Pumps
dot
อุปกรณ์เสริม
dot
bulletโซลีนอยด์วาล์ว Rain
bulletโซลีนอยด์วาล์ว Weathermatic
bulletเกี่ยวกับชุดกรองน้ำ
bulletขาตั้งสปริงเกอร์
bulletวาล์วผสมปุ๋ย
dot
PE PIPE, ท่อพีอี
dot
bulletท่อพีอี
bulletชุดข้อต่อ
dot
น้ำพุ Osae
dot
bulletน้ำพุ Oase
bulletDancing Fountain Oase
bulletJumping Jet Oase
bulletWater Trio and Water Quintet
bulletWater Jet Lightning
bulletWater Startlet
dot
หัวน้ำพุ
dot
bulletระบบน้ำพุเต้นรำ
bulletหัวน้ำพุ ราคาประหยัด
dot
ระบบกรองน้ำบ่อปลา
dot
bulletเครื่องดูดน้ำ Oase(Pondovac4)
bulletระบบบำบัดน้ำ Oase
bulletSwimSkim 25
bulletเครื่องดูดตะกอนOASE รุ่นใหม่ Pondovac 5
bulletAQUASKIM 40
bulletเครื่องเติมอากาศ บ่อปลา
dot
สระว่ายน้ำ
dot
bulletSand Filter
bulletอุปกรณ์ทำความสะอาด แบบอัตโนมัติ
bulletCartridge filtres
bulletSpa pump
bulletAlaska pump
dot
โคมไฟ
dot
bulletโคมไฟใต้น้ำ JESTA
bulletLuminis 3 warm-white + cold - white
bulletLunaqua 10 System Spotlight range
bulletโคมไฟใต้น้ำ LED น้ำพุ
bulletConnector kit ชุดต่อสายไฟใต้น้ำ
bullet Epoxi สำหรับต่อสายไฟ
bulletโคมไฟใต้น้ำ สระว่ายน้ำ
dot
การออกแบบ
dot
bulletรับออกแบบ ระบบสปริงเกอร์
bulletรับออกแบบ ระบบน้ำพุ
bulletรับออกแบบ ม่านน้ำพุ
dot
ความรู้เกี่ยวกับระบบสปริงเกลอร์
dot
bulletองค์ประกอบในการทำระบบน้ำ
bulletแนวทางการติดตั้งมินิสปริงเกอร์
bulletแนวทางการติดตั้งหัวมินิสปริงเกอร์และหัวฉีดสเปรย์
bulletรูปแบบการติดตั้งระบบน้ำหยด
dot
น้ำพุให้เช่า
dot
bulletน้ำพุให้เช่า
bulletภาพการบำบัดด้วยระบบกรอง Oase
bulletชมวีดีโอการทำงานน้ำพุ
bulletชมวีดีโอการทำงานสปริงเกอร์
dot
VDO การติดตั้ง
dot
dot
Newsletter

dot
bulletชมวีดีโอการทำงานของหัวพ่นหมอก
dot
รับสมัครงาน
dot
bulletร่วมงานกับเรา
bulletwww.rujirashop.com
dot
เว็บบริษัทในเครือ
dot
bulletwww.hikarithai.com
bulletwww.nanofac.com
bulletwww.fountainthai.com
dot
บริการแลกลิงค์
dot
bulletแลกlink sprinklethai


รับออกแบบ ติดตั้ง ระบบ สระว่ายน้ำ น้ำพุ จำหน่ายอุปกรณ์ช่าง อุปกรณ์สระว่าย น้ำ ขายปั๊มน้ำ เครื่องกรอง สระว่ายน้ำ
ศูนย์รวมเครื่องมืออุปกรณ์คาร์แคร์
รับออกแบบระบบน้ำพุ Musucal fountain


การให้น้ำอ้อย

การให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย

                น้ำ เป็นปัจจัยการผลิตหลักที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย หากอ้อยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดช่วงการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อยจะได้ไม่ต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ อ้อยต้องการน้ำเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างน้ำตาล อ้อยที่ขาดน้ำจะเจริญเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ และให้ความหวานต่ำ
               พื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในเขตชลประทาน อ้อยต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตตลอดปี ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร การเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องให้น้ำชลประทานหรือน้ำบาดาลช่วย การให้น้ำแก่อ้อยจะทำให้ความสามารถในการไว้ตอดีขึ้น เป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่อีกทางหนึ่ง

ความต้องการน้ำและการตอบสนองต่อการให้น้ำของอ้อย

                การ ผลิตอ้อยให้ได้ผลผลิตสูงนั้น อ้อยจะต้องได้รับน้ำ (น้ำฝน/ชลประทาน) อย่างเพียงพอ ตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อยจะขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ และช่วงระยะการเจริญเติบโต ได้แบ่งระยะความต้องการน้ำของอ้อยไว้ 4 ระยะ คือ
              1. ระยะตั้งตัว (0-30 วัน)เป็นระยะที่อ้อยเริ่มงอกจนมีใบจริง และเป็นตัวอ่อน ระยะนี้อ้อยต้องการน้ำในปริมาณไม่มาก เพราะรากอ้อยยังสั้นและการคายน้ำยังมีน้อย ดินจะต้องมีความชื้นพอเหมาะกับการงอก ถ้าความชื้นในดินมากเกินไปตาอ้อยจะเน่า ถ้าความชื้นในดินน้อยเกินไป ตาอ้อยจะไม่งอก หรือถ้างอกแล้วก็อาจจะเหี่ยวเฉาและตายไป ในสภาพดินที่เมื่อแห้งแล้วผิวหน้าฉาบเป็นแผ่นแข็ง ก็อาจทำให้หน่ออ้อยไม่สามารถแทงโผล่ขึ้นมาได้ ดังนั้น ในระยะนี้การให้น้ำอ้อยควรให้ในปริมาณน้อยและบ่อยครั้ง เพื่อทำให้สภาพความชื้นดินเหมาะสม
             2. ระยะเจริญเติบโตทางลำต้น (31-170 วัน) ระยะนี้รากอ้อยเริ่มแพร่กระจายออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวระดับ เป็นระยะที่อ้อยกำลังแตกกอและสร้างปล้องเป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำมาก ถ้าอ้อยได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอในระยะนี้ จะทำให้อ้อยมีจำนวนลำต่อกอมาก ปล้องยาว ทำให้อ้อยมีลำยาว และผลผลิตสูง การให้น้ำจึงต้องให้บ่อยครั้ง
             3. ระยะสร้างน้ำตาลหรือช่วงสร้างผลผลิต (171-295 วัน) ช่วงนี้พื้นที่ใบอ้อยที่ใช้ประโยชน์ได้จะน้อยลง อ้อยจะคายน้ำน้อยลง และตอบสนองต่อแสงแดดน้อยลง จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อย ให้เฉพาะช่วงที่อ้อยเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ
            4. ระยะสุกแก่ (296-330 วัน) เป็น ช่วงที่อ้อยต้องการน้ำน้อย และในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ควรหยุดให้น้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำในลำต้นอ้อยและบังคับให้น้ำตาลทั้งหมดในลำอ้อยเปลี่ยนเป็น น้ำตาลซูโครส
ความต้องการน้ำของอ้อยในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโต ตามตาราง

ความต้องการน้ำของอ้อยในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโต

ช่วงการเจริญเติบโต

ความต้องการน้ำ

มม./วัน

มม.

ระยะตั้งตัว (30 วัน) 

4

120

ระยะเติบโตทางลำต้น (140 วัน)

4.5

630

ระยะสร้างน้ำตาล (125 วัน)

5

625

ระยะแก่ (35 วัน)

4

140

รวม (330 วัน)

-

1,515

ข้อพิจารณาในการให้น้ำแก่อ้อย

          การพิจารณาว่าเมื่อใดควรจะถึงเวลาให้น้ำแก่อ้อย และจะให้น้ำครั้งละปริมาณเท่าใด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ
          @ระยะการเจริญเติบโต ความต้องการน้ำของอ้อย ปริมาณน้ำที่ให้แก่อ้อยจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโต อัตราความต้องการใช้น้ำ ความลึกที่รากหยั่งลงไปถึง อ้อยจะเจริญเติบโตได้ดีก็ต่อเมื่อความชื้นในดินเหมาะสม ถ้ามีความชื้นในดินสูงหรือต่ำมากเกินไป อ้อยจะเจริญเติบโตผิดปกติ เมื่อดินมีน้ำมากจะทำให้ขาดออกซิเจน โดยทั่วไปถ้าในดินมีอากาศอยู่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ รากอ้อยจะชะงักการดูดธาตุอาหาร น้ำและออกซิเจน เป็นเหตุให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำใบจะห่อในเวลากลางวัน
          @คุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความสามารถของดินในการซับน้ำ ดินต่างชนิดกันย่อมมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ไม่เหมือนกันสำหรับดินที่สามารถ ซับน้ำไว้ได้มากไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยครั้งเหมือนดินที่มีเนื้อหยาบและซับ น้ำได้น้อย ดินเหนียวจะมีความชื้นอยู่มากกว่าดินทราย ดังนั้น หลักการให้น้ำแก่อ้อยที่ถูกต้อง คือ ให้น้ำตามที่อ้อยต้องการ ส่วนปริมาณน้ำที่จะให้แต่ละครั้งมากน้อยเท่าไร และใช้เวลานานเท่าใด ย่อมขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางกายภาพของดินซึ่งไม่เหมือนกัน
          @สภาพลมฟ้าอากาศ อุณหภูมิ ของอากาศ การพิจารณาการให้น้ำแก่อ้อยจะต้องพิจารณาถึง อุณหภูมิและสภาพลมฟ้าอากาศด้วย ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงอ้อยจะคายน้ำมาก ความต้องการน้ำจะมากตามไปด้วย จำเป็นต้องให้น้ำบ่อยขึ้น ในช่วงที่มีฝนตกควรงดให้น้ำ และหาทางระบายน้ำแทน เพื่อให้ดินมีความชื้นและอากาศในดินเหมาะสม ในช่วงฝนทิ้งช่วงควรให้น้ำช่วยจะทำให้การเจริญเติบโตของอ้อยดีขึ้น

ระบบการให้น้ำอ้อย

            การ เลือกระบบการให้น้ำอ้อยที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของดิน ความลาดเอียงของพื้นที่ ต้นทุน และความพร้อมในการนำน้ำมาใช้ รวมทั้งความพร้อมในด้านแรงงาน และอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ในการให้น้ำ ระบบการให้น้ำอ้อยในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ทั้งในและต่างประเทศมีดังนี้
            1. การให้น้ำแบบร่อง (Furrow irrigation)
                เป็นระบบการให้น้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่าง ประเทศ เพราะเป็นระบบที่ใช้ต้นทุนต่ำ สะดวกและง่ายในการปฏิบัติ แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ที่แปลงปลูกอ้อยจะต้องค่อนข้างราบเรียบ โดยมีความลาดชัน ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของการให้น้ำแบบร่องจะผันแปรอยู่ระหว่าง 30-90 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การให้น้ำได้โดยการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม
                โดยปกติการให้น้ำระบบนี้จะมีร่องน้ำที่หัวแปลงหรืออาจใช้ ท่อหรือสายยางที่มีช่องเปิดให้น้ำไหลเข้าร่องอ้อยแต่ละร่อง เมื่อน้ำไหลไปจนสุดร่องแล้ว อาจยังคงปล่อยน้ำต่อไปอีกเพื่อให้น้ำซึมลงในดินมากขึ้นน้ำที่ท้ายแปลงอาจ ระบายออกหรือเก็บรวบรวมไว้ในบ่อพักเพื่อนำกลับมาใช้อีก ในแปลงอ้อยที่มีความลาดชันน้อยมาก (ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์) สามารถจัดการให้น้ำโดยไม่มีน้ำเหลือทิ้งท้ายแปลงได้ โดยปรับสภาพพื้นที่ให้มีความลาดชันน้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์และทำคันกั้นน้ำตลอดท้ายแปลง น้ำที่ให้ไปสุดท้ายแปลงจะถูกดักไว้โดยคันกั้นน้ำ ทำให้น้ำมีเวลาซึมลงในดินมากขึ้น วิธีนี้จะเหมาะกับดินที่มีการซึมน้ำช้า และน้ำที่จะให้มีจำกัด
                 แม้ ว่าการให้น้ำระบบร่องจะใช้ได้กับพื้นที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเอียงไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับความยาวร่องที่ใช้มีตั้งแต่ 25 เมตร ถึง 1,000 เมตร รูปร่าง ของร่องและอัตราการไหลของน้ำ ขึ้นกับชนิดของดินและความลาดชันของพื้นที่ สำหรับดินที่มีความสามารถ ในการซึมน้ำได้ดี ควรใช้ร่องปลูกรูปตัว ‘V' และมีสันร่องกลาง เพื่อให้น้ำไหลได้เร็วและลดการสูญเสียน้ำ จากการซึมลึกในแนวดิ่ง ในทางกลับกันสำหรับดินที่มีการซึมน้ำเลว ควรใช้ร่องที่มีก้นร่องกว้างและสันร่องแคบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของดินกับน้ำ ทำให้น้ำซึมลงดินได้ทั่วถึง
            2. การให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinkler irrigation)
                การให้น้ำแบบนี้ใช้ได้กับทุกสภาพพื้นที่และทุกชนิดดิน ประสิทธิภาพในการใช้น้ำอาจเกิน 75 เปอร์เซ็นต์ ได้ ถ้ามีการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม การให้น้ำแบบนี้มีหลายรูปแบบ เช่น
                - สปริงเกอร์หัวใหญ่ ต้องใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงและมีทางวิ่งถาวรในแปลงอ้อย

รุ่นประหยัดให้ดูตามลิงค์นี้ http://www.sprinklethai.com/%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-SUPER-GUN.html

รุ่นคุณภาพให้ดูตามลิงค์นี้ http://www.sprinklethai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539161088
                - สปริงเกอร์แบบหัวเล็กเคลื่อนย้ายได้ ใช้สำหรับอ้อยปลูกหรืออ้อยตออายุน้อย และปริมาณน้ำที่ให้มีจำกัด มีข้อเสียคือ ต้องใช้แรงงานมากในการเคลื่อนย้าย และไม่สามารถใช้กับอ้อยสูงได้
                - สปริงเกอร์แบบหัวเล็กบนแขนระนาบ (Lateral move irrigators) ข้อดีคือสามารถให้น้ำในพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพและใช้แรงงานน้อย แต่มีข้อเสียคือใช้ต้นทุนสูงสำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือ
                - สปริงเกอร์แบบหัวเล็กขนแขนที่เคลื่อนเป็นวงกลมรอบจุดศูนย์กลาง (Centre-pivot irrigators)
            3. การให้น้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)
                เป็นวิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพในการให้น้ำสูงสุด โดยสามารถให้น้ำเฉพาะรอบ ๆ รากพืช และสามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปพร้อมกับน้ำได้เลย ปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ
                - ระบบน้ำหยดบนผิวดิน (Surface system) ระบบนี้จะวางสายให้น้ำบนผิวดินในแนวกึ่งกลางร่อง หรือข้าร่อง อาจวางทุกร่องหรือร่องเว้นร่อง

ให้ดูตามลิงค์นี้ http://www.sprinklethai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538735755
                - ระบบน้ำหยดใต้ผิวดิน (Subsurface system) ระบบนี้จะต้องวางสายให้น้ำก่อนปลูก โดยปกติจะฝังลึกประมาณ 25-30 ซม. และสายให้น้ำจะอยู่ใต้ท่อนพันธุ์อ้อยประมาณ 10 ซม.

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




การวางระบบสปริงเกอร์

การเลือก ปั๊มน้ำ article
หัวสปริงเกอร์ แบบต่างๆ article
การหาจำนวน หัวสปริงเกอร์ article
การประกอบข้อต่อแบบต่างๆ ระบบสปริงเกอร์
การซ่อมหญ้าหลังเดินท่อติดตั้งหัวสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ
ปั้ม Promax 20000 / 30000
ปั้ม Promax 20000 / 30000
ปั้ม AQUAMAX ECO 4000 - 16000
ปั้ม AQUAMAX ECO 4000 - 16000
การหาขนาดบ่อกรองน้ำ สำหรับบ่อปลา article
การเลือกสปริงเกอร์ แบบง่ายๆ